วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประเทศเวียดนาม13


ประเทศเวียดนาม

          ประเทศเวียดนาม (เวียดนามViệt Nam) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนามCộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (เวียดนามBiển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก 


ประวัติศาสตร์


           อารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในเวียดนามมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานคือกลองมโหระทึกสำริด และชุมชนโบราณที่ดงเซินเขตเมืองแทงหวา ทางใต้ของปากแม่น้ำแดง สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวเวียดนามโบราณผสมผสานระหว่างชนเผ่ามองโกลอยด์เหนือจากจีนและใต้ ซึ่งเป็นชาวทะเล ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวแบบนาดำและจับปลา และอยู่กันเป็นเผ่า บันทึกประวัติศาสตร์ยุคหลังของเวียดนามเรียกยุคนี้ว่าอาณาจักรวันลาง มีผู้นำปกครองสืบต่อกันหลายร้อยปีเรียกว่า กษัตริย์หุ่ง แต่ถือเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์





สมัยประวัติศาสตร์




เวียดนามเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์หลังชนเผ่าถุก จากตอนใต้ของจีนเข้ารุกรานและยึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแดง จากนั้นไม่นานจักรพรรดิจิ๋นซีซึ่งเริ่มรวมดินแดนจีนสร้างจักรวรรดิให้เป็นหนึ่งเดียว โดยได้ยกทัพลงมาและทำลายอาณาจักรของพวกถุกได้ ก่อนผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงทั้งหมด ให้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองหนานไห่ ที่เมืองพานอวี่หรือกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน หลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน ข้าหลวงหนานไห่คือจ้าวถัว ประกาศตั้งหนานไห่เป็นอาณาจักรอิสระ ชื่อว่า หนานเยว่ หรือ นามเหวียต ในสำเนียงเวียดนามซึ่งเป็นที่มาของชื่อเวียดนามในปัจจุบัน ก่อนกองทัพฮั่นเข้ายึดอาณาจักรนามเหวียด ได้ในปี พ.ศ. 585 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใช้ชื่อว่า เจียวจื้อ ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ เป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนนำวัฒนธรรมจีนทางด้านต่างๆ ไปเผยแพร่ที่ดินแดนแห่งนี้ พร้อมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทรัพยากรจากชาวพื้นเมืองหรือชาวเวียดนามจนนำไปสู่การต่อต้านอย่างรุนแรงหลายครั้งเช่น:


การปกครองของจีนในเวียดนามขาดตอนเป็นระยะตามสถานการณ์ในจีนเอง ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวพื้นเมืองในเวียดนามตั้งตนเป็นอิสระ ในช่วงเวลาที่เวียดนามอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ถาง พุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่เวียดนาม เมืองต้าหลอหรือฮานอย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นศูนย์กลางการค้าการเดินทางของชาวจีนและอินเดีย พระสงฆ์และนักบวชในลัทธิเต๋าจากจีนเดินทางเข้ามาอาศัยในดินแดนนี้ ต่อมาราชวงศ์ถางได้เปลี่ยนชื่อเขตปกครองนี้ใหม่ว่า อันหนาน (หรืออันนัม ในสำเนียงเวียดนาม) หลังปราบกบฏชาวพื้นเมืองได้ แต่ถือเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่จีนครอบครองดินแดนแห่งนี้
เวียดนามและเพื่อนบ้าน

  • พ.ศ. 1498-1510 ราชวงศ์โง--หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ถางของจีน นายพลโงเกวี่ยนผู้นำท้องถิ่นในเขตเมืองฮวาลือ ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแดง ขับไล่ชาวจีนได้ แล้วจึงก่อตั้งราชวงศ์โงเปลี่ยนชื่อประเทศว่า ไดเวียด หลังจากจักรพรรดิสวรรคต อาณาจักรแตกแยกออกเป็น 12 แคว้น มีผู้นำของตนไม่ขึ้นตรงต่อกัน
  • พ.ศ. 1511-1523 ราชวงศ์ดิงห์--ขุนศึกดิงห์โบะหลิง แม่ทัพของราชวงศ์โง สามารถรวบรวมแคว้นต่างๆเข้าด้วยกัน เปลียนชื่อประเทศเป็น
ไดโก่เวียด เริ่มสร้างระบบการปกครองแบบจีนมากกว่ายุคก่อนหน้า และตั้งตนเป็น จักรพรรดิดิงห์เตียน หรือ ดิงห์เตียนหว่าง เสมือนจักรพรรดิจิ๋นซีผู้รวบรวมจีน ถือเป็นการเริ่มใช้ตำแหน่งจักรพรรดิหรือ หว่างเด๋ ในเวียดนามเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 1524-1552 ราชวงศ์เตี่ยนเลหรือเลยุคแรก--มเหสีของจักรพรรดิดิงห์โบะหลิง ได้ขับไล่รัชทายาทราชวงศ์ดิงห์ สถาปนาพระสวามีใหม่คือขุนศึกเลหว่านเป็นจักรพรรดิเลด่ายแห่ง โดยพยายามสร้างความมั่นคงด้วยการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ่งของจีนและปราบปรามกบฎภายใน แต่ก็ไม่รอดพ้นการรัฐประหาร สมัยนี้พุทธศาสนาและลัทธิเต๋ารุ่งเรืองมากและได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในหมู่ชนชั้นสูงมาก

     ราชวงศ์ยุคใหม่
 
กลองมโหระทึกสำริด
  • พ.ศ. 1552-1768 ราชวงศ์หลี--หลี กง อ่วนมีอำนาจในราชสำนักฮวาลือ เมื่อขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่ ทังลอง (ฮานอย) ทรงสร้างวัดขึ้น 150 แห่ง ในปี 1070 นำระบบการสอบจอหงวนมาใช้ ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวันเหมียว ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีขงจื้อ เพื่อสอบเข้ารับราชการในระบบจอหงวน แต่ขุนนางยังมีจำนวนน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเชื้อสายผู้มีอิทธิพลในหัวเมือง ต่อมาทรงพระนามว่า หลีไถโต๋ สมัยหลีเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองและสังคมมาก ที่ปรึกษาราชการในบางสมัยเป็นพระสงฆ์ จักรพรรดิราชวงศ์หลีช่วงหลังสร้างวัดขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง และสละราชสมบัติออกผนวช เป็นสาเหตุให้การบริหารราชการเริ่มตกอยู่ในอำนาจของเครือญาติพระชายามาจากตระกูลที่มั่งคั่งในหัวเมือง ผู้ปกครององค์สุดท้ายเป็นเด็กหญิงที่ได้รับการตั้งเป็นจักรพรรดินี พระนามว่าหลีเจี่ยว การบริหารราชการตกอยู่ในอำนาจของญาติวงศ์พระชนนีซึ่งเป็นขุนศึกมีกองกำลังทหารอยู่ในมือ เช่นเจิ่นถูโดะ ซึ่งก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากราชวงศ์หลีในที่สุด
สงครามเวียดนาม
  • พ.ศ. 1768-1943 ราชวงศ์เจิ่น--เจิ่นถูโดะญาติของพระชายาจักรพรรดิก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจท่ามกลางสถานการณ์กบฏและการรุกรานจากข้าศึกต่างชาติ จากนั้นได้อภิเษกสมรสกับพระนางเจียว ฮว่าง จักรพรรดินีองศ์สุดท้ายของราชวงศ์หลีแล้วยกหลานขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์เจิ่น สมัยเจิ่นเวียดนามต้องเผชิญกับศึกสงครามโดยตลอด ที่ร้ายแรงที่สุดคือการรุกรานจากพวกมองโกลและจัมปา สมัยเจิ่นก็เริ่มให้ความสำคัญกับอารยธรรมจีนมากกว่ายุคก่อนหน้าโดยเฉพาะด้านภูมิปัญญาและอักษรศาสตร์ รวมถึงการบริหารราชการแบบจีนในสมัยนี้มีการประมวลพงศาวดารชาติเป็นครั้งแรก ชื่อว่า ด่ายเหวียตสือกี๋ หรือ บันทึกประวัติศาสตร์มหาอาณาจักรเวียด โดยราชบัณฑิต เลวันฮึว นอกจากนี้ยังเริ่มมีการ  ประดิษฐ์อักษรของเวียดนามที่เรียกว่า อักษรโนม ขึ้นเป็นครั้งแรก
         
แผนที่อินโดจีน ค.ศ. 1913


    • พ.ศ. 1943-1971 ราชวงศ์โห่--โห่กุ๊ยลี ญาติของพระชายาจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่น สร้างฐานอำนาจของตนด้วยการเป็นแม่ทัพทำศึกกับพวกจามทางใต้ ต่อมาก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่นและพยายามกำจัดเชื้อสายราชวงศ์ที่หลงเหลืออยู่ จากนั้นขึ้นครองราชย์ ตั้งทายาทของตนเป็นจักรพรรดิต่อมา ราชนิกูลราชวงศ์เจิ่นได้ขอความช่วยเหลือไปยังจีน ทำให้จีนส่งกองทัพเข้ามาล้มล้าง ราชวงศ์โห่ แต่สุดท้ายก็ไม่มอบ   อำนาจให้แก่ราชวงศ์เจิ่น และยึดครองเวียดนามแทนที่
    • การกู้เอกราชและก่อตั้ง ราชวงศ์เล (ยุคหลัง) พ.ศ. 1971-2331 เล่เหล่ย ชาวเมืองแทงหวา ทางใต้ของฮานอยได้รวบรวมสมัครพรรคพวกตั้งตนขึ้นเป็นผู้นำเวียดนาม ขับไล่จีนออกจากเวียดนามได้สำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 1971เลเหล่ยขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ สถาปนา ราชวงศ์เล ขึ้น มีราชธานีที่ฮานอยหรือทังลองและราชธานีอีกแห่งคือที่เมืองแทงหวา (ทันห์ว้า) หรือ ราชธานีตะวันตก ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของเลเหล่ยและตระกูลเล ต่อมาเลเหล่ยได้รับการถวายพระนามว่า เลไถโต๋
  •         ราชวงศ์เลช่วงแรกเป็นช่วงสร้างความมั่นคงและฟื้นฟูประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะในสมัยเลไถโต๋หรือเลเหล่ย เช่นการสร้างระบบราชการ จัดสอบคัดเลือกขุนนาง ตรากฎหมายใหม่ แบ่งเขตการปกครองใหม่ ฟื้นฟูการเกษตร รวมถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนทำให้เวียดนามเข้าสู่ยุคสงบสุขปลอดจากสงครามอีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น