ยุคแตกแยกเหนือ-ใต้
- หลังการฟื้นฟูราชวงศ์เลขึ้นได้ ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการ และให้ขุนศึกตระกูลเหวียนไปปกครองเขตชายแดนใต้บริเวณเมืองด่งเหยลงไปถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็น เจ้าสืบตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ในตระกูลของตนเอง ขุนศึกตระกูลเหวียนจึงประกาศไม่ยอมรับการปกครองของตระกูลจิ่งจนเกิดสงครามครั้งใหม่ต่อมาอีกหลายสิบปี เวียดนามแบ่งแยกเป็นสองส่วน ส่วนเหนือ คือเวียดนามเหนือ อยู่ในการปกครองของราชวงศ์เลและเจ้าตระกูลจิ่ง มีศูนย์กลางที่ทังลอง ส่วนใต้ คือ เวียดนามใต้ มีตระกูลเหวียนปกครอง มีศุนย์กลางที่เมืองฝูซวนหรือเว้ในปัจจุบัน
ยุคเตยเซิน
- พ.ศ. 2316 เกิดกบฎนำโดยชาวนาสามพี่น้องที่หมู่บ้านเตยเซินขึ้นในเขตเมืองบิ่งดิ่ง เขตปกครองของตระกูลเหวียน และสามารถยึดเมืองฝูซวนได้ องค์ชายเหงวียนแอ๋ง เชื้อสายตระกูลเหงวียนหลบหนีลงใต้ออกจากเวียดนามไปจนถึงกรุงเทพฯ ก่อนกลับมารวบรวมกำลังเอาชนะพวกเตยเซินได้
องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือเหงวียนฟุกอ๊าน (องเชียงสือ) ผู้นำตระกูลเหงวียน ซึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งราชวงศ์เหงวียน ในพ.ศ. 2345 สถาปนาราชธานีใหม่ที่เมืองเว้ แทนที่ทังลอง ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็นฮานอย
ราชวงศ์เหงวียนรุ่งเรืองที่สุดในสมัยจักรพรรดิมินหมั่ง จักรพรรดิองค์ที่สอง ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ด่ายนาม ขยายแสนานุภาพไปยังลาวและกัมพูชา ผนวกกัมพูชาฝั่งตะวันออก ทำสงครามกับสยามต่อเนื่องเกือบยี่สิบปี แต่ภายหลังต้องถอนตัวจากกัมพูชาหลังถูกชาวกัมพูชาต่อต้านอย่างรุนแรง
สมัยนี้เวียดนามเริ่มใช้นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงชาวตะวันตก มีการจับกุมและประหารบาทหลวงชาวตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงชาวเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา จนถึงรัชกาลจักรพรรดิองค์ที่ 4 คือจักรพรรดิตึดึ๊ก ทรงต่อต้านชาวคริสต์อย่างรุนแรงต่อไป จนในที่สุดบาทหลวงชาวฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตนให้ช่วยคุ้มครอง พ.ศ. 2401 เรือรบฝรั่งเศสเข้ามาถึงน่านน้ำเมืองดานัง(หรือตูราน) ฐานทัพเรือใกล้เมืองหลวงเว้ นำไปสู่การสู้รบกันของทั้งฝ่าย
ต่อมากองกำลังฝรั่งเศสได้บุกโจมตีดินแดนภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำโขงและยึดครองพื้นที่ได้เกือบทั้งหมด จักรพรรดิตึดึ๊กจึงต้องยอมสงบศึกและมอบดินแดนภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศส ชาวเวียดนามเริ่มต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสแต่ไม่อาจต่อสู้กับแสนยานุภาพที่เหนือกว่าได้ ฝรั่งเศสจึงเข้าควบคุมเวียดนามอย่างจริงจังมากขึ้นและแบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คืออาณานิคมโคชินจีน ในภาคใต้ เขตอารักขาอันนาม ในตอนกลางและเขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือ และเวียดนามยังมีจักรพรรดิเป็นประมุขเช่นเดิม แต่ต้องผ่านการคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศสและมีฐานะเป็นสัญลักษณ์ อำนาจในการบริหารการคลัง การทหารและการทูตเป็นของฝรั่งเศสถือว่าเวียดนามสิ้นสุดฐานะเอกราชนับแต่นั้น
ยุคอาณานิคม
ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามทางด้านเศรษฐกิจ เวียดนามเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นกาแฟ และยางพารา ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและเป็นวัตถุดิบแก่โรงงานในฝรั่งเศสที่ดินในเวียดนามถูกยึดและตกเป็นของชาวฝรั่งเศส และเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายในเวียดนาม ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระในการทำงานและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี พ.ศ. 2473 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบท
ยุคเอกราช
พ.ศ. 2488 โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกหลังประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ.2497 และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวา ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ยอมรับเอกราชของเวียดนาม แต่สหรัฐอเมริกาและชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์ ต่อมาได้ก่อตั้งดินแดนเวียดนามภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ สาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) มีเมืองหลวงคือ ไซ่ง่อน ใช้เส้นละติจูดที่ 17 องศาเหนือแบ่งแยกกับเวียดนามส่วนเหนือใต้การปกครองของโฮจิมินห์ (เวียดนามเหนือ)
สงครามเวียดนาม
เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้ ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ให้การช่วยเหลือทางทหารแก่เวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งทหารมาประจำในเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ ปลดปล่อย เวียดนามใต้จากสหรัฐอเมริกาและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกา (เวียดกง) ในการทำสงคราม
สหรัฐอเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2516 กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2518 การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น
การเมือง
กองทัพเวียดนาม
1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่ 1.)กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
2.)กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
3.)กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก 2.เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้เลือกตั้งอิสระเพียง 2 คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี
3.สภาแห่งชาติชุดใหม่ได้เปิดประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยสภาได้มีมติสำคัญๆ คือ
1.)รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 19 พฤษภาคม
2.)เลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ประจำสภา
3.)การเลือกตั้งให้นายเหวียน วัน อาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาต่อไป (เมื่อ 23 กรกฎาคม)
4.)การเลือกตั้งให้นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป (เมื่อ 24 กรกฎาคม) และ
5.)เลือกตั้งให้นายฟาน วัน ขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เมื่อ 25 กรกฎาคม) และได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 สิงหาคม 2545 โดยในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 26 คน มีรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั่งใหม่ 15 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้น ๆ มาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม และกระทรวงภายใน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน
4.แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง
ภูมิศาสตร์
อ่าวหะล็อง
เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000
ลักษณะภูมิประเทศ
- มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
- มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต) ตั้งอยู่ในเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดจีน
ลักษณะภูมิอากาศ
- เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
- เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณร้อยละ 84 ตลอดปี มีปริมาณฝนจาก 120 ถึง 300 เซนติเมตร และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียส
ชายแดน
ทั้งหมด 4,638 กิโลเมตร (2,883 ไมล์) โดยติดกับประเทศกัมพูชา 1,228 กิโลเมตร (763 ไมล์) ประเทศจีน 1,281 กิโลเมตร (796 ไมล์) และประเทศลาว 2,130 กิโลเมตร (1,324 ไมล์)
การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศเวียดนามแบ่งเป็น 59 จังหวัด และ 5 เทศบาลนคร ดังนี้
แผนที่เขตการปกครองระดับจังหวัดของเวียดนาม
- ก้วงไง - ก้วงตริ - ดานัง - เดี่ยนเบียน
- ก้วงนัญ - ก้วงนัม - ตร้าวิญ - ตายนิญ
- ก้วงบิ้ญ - ขัญฮั่ว - ไถเงียน - บ๊ากเกียง
- คนตุม - คั้นทอ - ไถบิ้ญ - บ๊ากขั่น
- ค่ามอ - คาวบ้าง - ทัญฮั่ว - บ๊ากนิญ
- เคียนเกียง - ช็อกตราง - ทั่วเทียน-เว้ - บิ้ญดวง
- ชอนลา - ญาลาย - เทียนกวง - บิ้ญดิ่ญ
- ด๊งทัป - ด๊งไน - เทียนเกียง - บิ้ญฟวก
- ด๊ากโนง - ด๊ากล้าก - นัมดิ่ญ - เบ๊นเตร
- นิญถ่วน - นิญบิ้ญ - บ้ะเหรี่ย-วุ้งต้อ - บักเลียว
- ฝูถ่อ - ฝูเยน - ยิ้ญถ่วน - เยนไบ๋
- ลงอัน - ลามดอง - เล่าไค - ไลชาว
- วิ้ญฟุก - วิ้ญลง - หลั่งซอน - ห่าวเกียง
- เหง่อัน - อันเกียง - ฮั่วบิ้ญ - ฮ่าเกียง
- ฮ่าตาย - ฮ่าติญ - ฮานอย - ฮ่านาม
- ฮูงเยน - โฮจิมินห์ - ไฮ่ดวง - ไฮฟอง
ยุคเตยเซิน
- พ.ศ. 2316 เกิดกบฎนำโดยชาวนาสามพี่น้องที่หมู่บ้านเตยเซินขึ้นในเขตเมืองบิ่งดิ่ง เขตปกครองของตระกูลเหวียน และสามารถยึดเมืองฝูซวนได้ องค์ชายเหงวียนแอ๋ง เชื้อสายตระกูลเหงวียนหลบหนีลงใต้ออกจากเวียดนามไปจนถึงกรุงเทพฯ ก่อนกลับมารวบรวมกำลังเอาชนะพวกเตยเซินได้
องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือเหงวียนฟุกอ๊าน (องเชียงสือ) ผู้นำตระกูลเหงวียน ซึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งราชวงศ์เหงวียน ในพ.ศ. 2345 สถาปนาราชธานีใหม่ที่เมืองเว้ แทนที่ทังลอง ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็นฮานอย
ราชวงศ์เหงวียนรุ่งเรืองที่สุดในสมัยจักรพรรดิมินหมั่ง จักรพรรดิองค์ที่สอง ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ด่ายนาม ขยายแสนานุภาพไปยังลาวและกัมพูชา ผนวกกัมพูชาฝั่งตะวันออก ทำสงครามกับสยามต่อเนื่องเกือบยี่สิบปี แต่ภายหลังต้องถอนตัวจากกัมพูชาหลังถูกชาวกัมพูชาต่อต้านอย่างรุนแรง
สมัยนี้เวียดนามเริ่มใช้นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงชาวตะวันตก มีการจับกุมและประหารบาทหลวงชาวตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงชาวเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา จนถึงรัชกาลจักรพรรดิองค์ที่ 4 คือจักรพรรดิตึดึ๊ก ทรงต่อต้านชาวคริสต์อย่างรุนแรงต่อไป จนในที่สุดบาทหลวงชาวฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตนให้ช่วยคุ้มครอง พ.ศ. 2401 เรือรบฝรั่งเศสเข้ามาถึงน่านน้ำเมืองดานัง(หรือตูราน) ฐานทัพเรือใกล้เมืองหลวงเว้ นำไปสู่การสู้รบกันของทั้งฝ่าย
ต่อมากองกำลังฝรั่งเศสได้บุกโจมตีดินแดนภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำโขงและยึดครองพื้นที่ได้เกือบทั้งหมด จักรพรรดิตึดึ๊กจึงต้องยอมสงบศึกและมอบดินแดนภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศส ชาวเวียดนามเริ่มต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสแต่ไม่อาจต่อสู้กับแสนยานุภาพที่เหนือกว่าได้ ฝรั่งเศสจึงเข้าควบคุมเวียดนามอย่างจริงจังมากขึ้นและแบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คืออาณานิคมโคชินจีน ในภาคใต้ เขตอารักขาอันนาม ในตอนกลางและเขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือ และเวียดนามยังมีจักรพรรดิเป็นประมุขเช่นเดิม แต่ต้องผ่านการคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศสและมีฐานะเป็นสัญลักษณ์ อำนาจในการบริหารการคลัง การทหารและการทูตเป็นของฝรั่งเศสถือว่าเวียดนามสิ้นสุดฐานะเอกราชนับแต่นั้น
ยุคอาณานิคม
ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามทางด้านเศรษฐกิจ เวียดนามเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นกาแฟ และยางพารา ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและเป็นวัตถุดิบแก่โรงงานในฝรั่งเศสที่ดินในเวียดนามถูกยึดและตกเป็นของชาวฝรั่งเศส และเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายในเวียดนาม ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระในการทำงานและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี พ.ศ. 2473 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบทยุคเอกราช
พ.ศ. 2488 โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกหลังประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ.2497 และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวา ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ยอมรับเอกราชของเวียดนาม แต่สหรัฐอเมริกาและชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์ ต่อมาได้ก่อตั้งดินแดนเวียดนามภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ สาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) มีเมืองหลวงคือ ไซ่ง่อน ใช้เส้นละติจูดที่ 17 องศาเหนือแบ่งแยกกับเวียดนามส่วนเหนือใต้การปกครองของโฮจิมินห์ (เวียดนามเหนือ)
สงครามเวียดนาม
เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้ ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ให้การช่วยเหลือทางทหารแก่เวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งทหารมาประจำในเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ ปลดปล่อย เวียดนามใต้จากสหรัฐอเมริกาและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกา (เวียดกง) ในการทำสงคราม
สหรัฐอเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2516 กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2518 การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น
การเมือง
กองทัพเวียดนาม |
1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่ 1.)กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
2.)กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
3.)กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก 2.เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้เลือกตั้งอิสระเพียง 2 คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี
3.สภาแห่งชาติชุดใหม่ได้เปิดประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยสภาได้มีมติสำคัญๆ คือ
1.)รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 19 พฤษภาคม
2.)เลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ประจำสภา
3.)การเลือกตั้งให้นายเหวียน วัน อาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาต่อไป (เมื่อ 23 กรกฎาคม)
4.)การเลือกตั้งให้นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป (เมื่อ 24 กรกฎาคม) และ
5.)เลือกตั้งให้นายฟาน วัน ขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เมื่อ 25 กรกฎาคม) และได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 สิงหาคม 2545 โดยในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 26 คน มีรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั่งใหม่ 15 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้น ๆ มาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม และกระทรวงภายใน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน
4.แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง
ภูมิศาสตร์
อ่าวหะล็อง |
เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000
ลักษณะภูมิประเทศ
- มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
- มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต) ตั้งอยู่ในเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดจีน
ลักษณะภูมิอากาศ
- เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
- เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณร้อยละ 84 ตลอดปี มีปริมาณฝนจาก 120 ถึง 300 เซนติเมตร และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียส
ชายแดน
ทั้งหมด 4,638 กิโลเมตร (2,883 ไมล์) โดยติดกับประเทศกัมพูชา 1,228 กิโลเมตร (763 ไมล์) ประเทศจีน 1,281 กิโลเมตร (796 ไมล์) และประเทศลาว 2,130 กิโลเมตร (1,324 ไมล์)
การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศเวียดนามแบ่งเป็น 59 จังหวัด และ 5 เทศบาลนคร ดังนี้
แผนที่เขตการปกครองระดับจังหวัดของเวียดนาม |
- ก้วงไง - ก้วงตริ - ดานัง - เดี่ยนเบียน
- ก้วงนัญ - ก้วงนัม - ตร้าวิญ - ตายนิญ
- ก้วงบิ้ญ - ขัญฮั่ว - ไถเงียน - บ๊ากเกียง
- คนตุม - คั้นทอ - ไถบิ้ญ - บ๊ากขั่น
- ค่ามอ - คาวบ้าง - ทัญฮั่ว - บ๊ากนิญ
- เคียนเกียง - ช็อกตราง - ทั่วเทียน-เว้ - บิ้ญดวง
- ชอนลา - ญาลาย - เทียนกวง - บิ้ญดิ่ญ
- ด๊งทัป - ด๊งไน - เทียนเกียง - บิ้ญฟวก
- ด๊ากโนง - ด๊ากล้าก - นัมดิ่ญ - เบ๊นเตร
- นิญถ่วน - นิญบิ้ญ - บ้ะเหรี่ย-วุ้งต้อ - บักเลียว
- ฝูถ่อ - ฝูเยน - ยิ้ญถ่วน - เยนไบ๋
- ลงอัน - ลามดอง - เล่าไค - ไลชาว
- วิ้ญฟุก - วิ้ญลง - หลั่งซอน - ห่าวเกียง
- เหง่อัน - อันเกียง - ฮั่วบิ้ญ - ฮ่าเกียง
- ฮ่าตาย - ฮ่าติญ - ฮานอย - ฮ่านาม
- ฮูงเยน - โฮจิมินห์ - ไฮ่ดวง - ไฮฟอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น